วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่15


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 15

ประจำวันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556



กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้คือ ทำ Mind Mapping

สรุปความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนมา


สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้

    ทำให้ดิฉันทบทวนความรู้ต่างๆที่ได้เรียนมา เช่น การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมภาษาเด็ก การทำกิจกรรมประดิษฐ์ การทำมุม การทำแนวการสอน บัตรคำ การคัดไทย ซึ่งความรู้ทั้งหมดนี้เป็นพื้นฐานที่จะเรียนในชั้นสูงต่อไป ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดได้ และดิฉันก็มีความสุขมากคะกับวิชานี้ ที่สอนทั้งเนื้อหา มีกิจกรรมให้ทำ และอาจารย์ก็เข้าใจในความต้องการของเด็ก ขอบพระคุณทุกๆคำติชม ที่ดิฉันจะนำไปปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นคะ  

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่14



บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 14

ประจำวันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556


กิจกรรมในการเรียนการสอนของวันนี้คือ การคิดแผนการสอนโดยกลุ่มละ 5-6 คนกลุ่มของดิฉันทำหน่วย กระต่าย

โดยมีแนวการสอนดังนี้

กระต่าย
  1. ลักษณะกระต่าย คือ หูยาว ฟันขาว ตาแป๋ว ขนฟู
  2. อาหารกระต่าย คือ แครอท ยอดหญ้า ผักบุ้ง ผลไม้
  3. ที่อยู่อาศัยกระต่าย คือ โพรงดิน


นำเสนองาน


หน่วยการสอน คือ ลักษณะของกระต่าย
  1. จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ลักษณะของกระต่าย
  2. สาระการเรียนรู้  ธรรมชาติรอบตัว
  3. ขั้นดำเนินการ
  • ขั้นนำ คือ คำคล้องจองกระต่าย 
  • ขั้นสอน คือ นำกระต่ายหรือตุ๊กตากระต่ายมาให้เด็กสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัสและครูแนะนำเด็ก
  • ขั้นสรุป คือ วาดภาพกระต่าย และให้เด็กออกมาเล่าว่าลักษณะกระต่ายของตนเป็นอย่างไร พร้อมให้ตั้งชื่อกระต่ายของตนเอง และเขียนชื่อกระต่ายด้วย หากเด็กยังเขียนไม่ได้ให้ครูทำเป็นตัวอย่าง

     4.  ขั้นประเมิน คือ สังเกตและบันทึกพฤติกรรมเด็ก



สิ่งที่ดิฉันได้รับจากกิจกกรมนี้ คือ ทำให้รู้แนวทางในการจัดการศึกษา รู้ขั้นตอนการทำแผนการสอน ความสามัคคีในกลุ่ม และคำติชมจากอาจารย์โบว์ทำให้ดิฉันสามารถคิดต่อยอดและแก้ไขงานให้ดีและมีคุณภาพต่อไป



วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่13



บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 13

ประจำวันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556


กิจกรรมในการเรียนของวันนี้คือ 
การจัดมุมประสบการณ์ที่สามารถเชื่อมโยงการส่งเสริมพัฒนาด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

โดยอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 - 6 คน เพื่อช่วยกันคิดว่าจะทำมุมอะไร  และกลุ่มของดิฉันก็ จัดทำ 

"มุมข้าว"

      เนื่องด้วย ข้าว เป็นสิ่งสำคัญที่คนเราต้องกิน เป็นอาหารหลักที่ เด็กทุกคนต้องเรียนรู้ ข้าวมีประโยชน์มากมาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง ส่งเสริมทุกด้านของร่างกาย และมุมข้าว ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดี ที่เด็กจะได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตของชาวนา วัฏจักรของข้าวด้วย เพื่อที่จะให้เด็กกินข้าวอย่างรู้คุณค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด
                                 
ร่วมด้วยช่วยกัน " มุมข้าว" สำเร็จแล้ว


  

มีอะไรดีที่ "มุมข้าว" ?
        มุมข้าวนี้ จะมีเมล็ดข้าวที่ใหญ่และมี ตัวอักษร คำว่า ข้าว อยู่ตรงกลาง เพื่อเป็นสิ่งดึงดูดให้เด็กเข้ามาเล่น อีกฝั่งจะมี หุ่นไล่กา และหุ่นไล่กาก็จะมีตัวอักษร คำว่า หุ่นไล่ ส่วนคำว่า กา เป็นรูป กา เพื่อให้เด็กถอดรหัสของคำ เห็นไหมละคะว่าแค่อยู่ข้างหน้ามุม ก็สามารถเรียนภาษาได้ 2 คำแล้ว 
        พอเดินเข้าไปข้างในฝั่งซ้ายมือ ก็เรียนรู้ถึง วัฏจักรของข้าว เช่น การแช่เมล็ดข้าว การหว่านข้าว การดำนา แล้วเป็นต้นข้าว ต่อมาข้าวออกรวงแล้วมีชาวนาเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งในแต่ละช่วงจะมี ตัวอักษรกำกับซึ่งสั้นและง่ายต่อการเรียนรู้ เช่น หว่านข้าว ก็จะมีคำว่า หว่าน และ มีรูปข้าว อยู่ต่อท้าย เด็กก็สามารถถอดรหัสคำง่ายๆได้  และฝั่งขวาจะเป็นแปลงนาจำลอง เด็กก็จะได้เรียนรู้ มีเมล็ดข้าวของจริงให้เด็กๆดู ซึ่งเป็นข้าวที่พึ่งเก็บเกี่ยว ข้าวที่เป็นข้าวสารพร้อมหุง และสามารถสัมผัสได้ เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ผ่านการเล่น ของมุมข้าว 

ประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมนี้
   กิจกรรมครั้งนี้สนุกมากคะ เป็นการแสดงความคิดเห็นที่ดุเดือดมาก ระหว่างกลุ่มว่าจะทำมุมอะไรกัน และสุดท้ายเราก็ลงมติที่ มุมข้าว ทุกคนช่วยเหลือกัน ไม่มีใครว่างมือ ว่างสมองทั้งทำทั้งคิดว่า จะทำอย่างไรและเพิ่มเติมส่วนไหนให้สมบูรณ์และผลงานออกมาดี ซึ่งเป็นความสามัคคีในกลุ่ม การร่วมงานกับเพื่อน และที่ภูมิใจไปกว่านั้นคือ ดิฉันเป็นลูกชาวนา และได้มาเผยแผ่วิถีชีวิตชาวนาได้อย่างสนุกสนาน และมีความรู้ ซึ่งเพื่อนบางคนไม่เคยเห็นเลยว่ารวงข้าวเป็นอย่างไร ดิฉันก็ได้ถ่ายทอดความรู้อย่างเต็มความสามารถของตัวแทนลูกชาวนาคนนึงคะ




วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่12


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 12

ประจำวันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556


เนื้อหากาเรียนการสอน ในวันนี้ คือ 
การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

  • ควรสร้างให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและองค์รวม
  • เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา
หลักการและความสำคัญในการจัดสภาพแวดล้อม

  • สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็ก เช่น การสำรวจ ปฏิบัติจริง และเรียนรู้อย่างอิสระ
  • ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างกับบุคคลรอบข้าง
  • เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ ยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆ และคำนึงถึงความหมายที่เด็กสื่อสารมากกว่าความถูกต้องทางไวยกรณ์
  • มีความหลากหลายด้านวาจา
มุมประสบการณ์

  • มุมหนังสือ
  • มุมบทบาทสมมติ
  • มุมศิลปะ
  • มุมดนตรี และอื่นๆ
ลักษณะของการจัดมุมในชั้นเรียน

  • มีพื้นที่เล่นได้
  • เมื่อเล่นแล้วรู้สึกผ่อนคลาย
  • บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณ์เครื่องเขียน ดินสอ สี กระดาษ ปากกา กาว กรรไกร
  • เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน ออกแบบ
สื่อสนับสนุน

  • ของเล่นจริง
  • สื่อจำลอง
  • รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ กราฟ และอื่นๆ
กิจกรรมในชั้นเรียนคือ การคัด ก - ฮ ให้หัวกลมและสวยตามรูปแบบของจริง

  

ประโยชน์และการนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน

  • เด็กได้เรียนรู้พยัญชนะของไทย
  • เด็กได้ฝึกการเขียนอย่างถูกต้องถูกวิธี
  • เด็กได้ฝึกกล้ามมือ
  • เด็กเขียนตัวหนังสือสวยเพื่ออนุรักษ์ความเป็นไทย
     สิ่งที่ดิฉันได้รับจากการคัดไทย คือ ได้ฝึกหลักการเขียนที่ถูกต้องและสวยงาม เมื่อนำไปใช้แล้วเด็กจะได้เรียนรู้ได้ถูกต้องว่า พยัญชนะแต่ละตัวเป็นอย่างไร เด็กสามารถเรียนรู้ด้านภาษาจากตัวหนังสือของผู้สอน เพราะฉะนั้นแล้วครูต้องเขียนตัวหนังสือให้ถูกต้องถูกวิธีและสวยงาม เพื่อเป็นแบบอย่างให้ตัวผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครังที่11


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 11

ประจำวันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556



 วันนี้ทำสื่อ เกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมภาษาของเด็กปฐมวัย

        อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้คิดว่าจะทำสื่ออะไร บอกวิธีการเล่น ประโยชน์ของสื่อ และเราสามารถเชื่อมโยงหลักการ หรือ ทฤษฎีมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมทางภาษาของสื่อที่เราประดิษฐ์
   


สื่อ ลูกเต๋าผสมสระ

วิธีการเล่น
  1. นำบัตรคำ พยัญชนะ และสระ ไปสอดใส่ในด้านข้างของลูกเต๋า ให้ครบทุกด้าน ( ใส่ได้ตามใจ )
  2. พอนำใส่ครบแล้วให้เด็กดู และสังเกตว่า ในแต่ละด้านของลูกเต๋ามีด้านไหนบ้างที่สามารถนำมาผสมคำได้ แล้วให้เด็กผสมคำ
  3. เมื่อเด็กผสมเป็นคำแล้ว ครูหรือผู้สอนให้คำแนะนำกับเด็ก ว่าคำนี้อ่านว่าอย่างไร แล้วมีตัวอะไรบ้าง
  4. ในกรณีที่เด็กผสมเป็นคำที่ไม่มีความหมาย ให้ผู้สอนแนะนำ และพาเด็กอ่านออกเสียง ว่าตัวที่เค้าผสมมีตัวอะไรบ้าง เพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกตและการอ่านออกเสียงได้
ประโยชน์ของสื่อ

  1. ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านภาษาไทยด้วยสื่อที่กระตุ้นให้เด็กลงมือทำ กับลูกเต๋าผสมสระ พยัญชนะ ด้วยการเรียนรู้ผ่านการเล่น
  2. ช่วยให้เด็กสนุกกับการฝึกอ่าน การฝึกด้วยสื่อ 3 มิติที่จับต้องได้ ได้อย่างปลอดภัย
  3. ช่วยปูพื้นฐานด้านอักษร วรรณยุกต์ สระ และพยัญชนะ เพื่อการเรียนรู้ในขั้นสูงต่อไป
  4. ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา ได้แก่ การอ่าน ฟัง พูด และการเขียน
  5. เกิดคำใหม่ๆที่เด็กไม่เคยรู้ เป็นการสร้างความรู้ใหม่ๆให้กับเด็ก

สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้

   ทำให้ฝึกคิดการทำสื่อที่เหมาะสมกับเด็ก ซึ่งสื่อนั้นต้องได้ประโยชน์ทุกด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและดิฉันก็ได้ทำลูกเต๋า ซึ่งทำให้เป็นแนวในการศึกษาการต่อยอด สนุกมากคะฝึกคิกฝึกทำ และงานชิ้นนี้สามารถนำไปใช้งานได้จริงคะ




วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่10


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 10

ประจำวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556


วันนี้เรียนเรื่อง สื่อการเรียนรู้ทางภาษา

สื่อการเรียนรู้ทางภาษา

  1. วัสดุหรืออุปกรณ์ต่างๆ
  2. เป็นการกระตุ้นส่งเสริม จูงใจ ให้เกิดความสนใจ
  3. ช่วยเพิ่มประสทธิภาพทางภาษา
  4. เครื่องมือกำหนด เพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเนื้อหา ประสบการณ์ แนวคิดและเจตคติ
ความสำคัญของสื่อ
  1. เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
  2. เข้าใจง่าย
  3. เห็นและสัมผัสจากนามประธรรมเป็นรูปธรรม
  4. จำได้ง่าย เร็ว และนาน
ประเภทของสื่อ
  1. สื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์
  2. เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ และสื่อ
สื่อวัสดุอุปกรณ์
สิ่งของต่างๆ ของจริง หุ่นจำลอง แผนที่ แผนภูมิ ตารางสถิติ กราฟ สมุดภาพ หุ่นมือเป็นต้น
สื่อโสตทัศนูปกรณ์
  1. สิ่งที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ
  2. คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นแผ่น
สื่อกิจกรรม
  1. วิธีที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติ ทักษะ
  2. ใช้ในกระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์
  3. เกม เพลง การสาธิต สถานการณ์จำลอง การแวดงละคร การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงาน และทัศนศึกษา
สื่อบริบท
  1. สื่อที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
  2. สถาพแวดล้อม
  3. ห้องเรียน บุคคล ชุมชน และวัฒนธรรม
กิจกรรมในการเรียนของวันนี้คือ การทำสื่อ "บัตรคำตั้งโต๊ะ"
     
                                 

สื่อเป็น 2 ด้าน 

ประโยชน์ของสื่อ
  1. ช่วยส่งเสริมทางด้วนภาษาของเด็ก คือ มีภาษาที่หลากหลาย เช่น ภาษาไทย อังกฤษ 
  2. ถ้าเด็กยังไม่สามารถอ่านได้ เด็กยังดูภาพการตีความว่าภาพคืออะไร และเกิดการสังเกตว่าภาพแต่ละภาพมีชื่อว่าอะไร และเขียนอย่างไร มีตัวอะไรสะกดอยู่บ้าง
  3. เราสามารถประยุกต์ได้หลากหลายภาษา เพราะเราจะก้าวสู่อาเซียนแล้วก็สามารถนำภาษาต่างๆมาใช้ได้
  4. สื่อนี้ดึงดูดเด็กด้วย รูปภาพ ตัวอักษร ที่สวยงาม และมีขนาดที่พอดี สามารถตั้งได้
  5. สื่อตัวนี้เก็บ และพกพาสะดวก สามารถพับได้แล้วเก็บใส้แฟ้ม และใช้งานง่าย
  6. เด็กได้สัมผัส สังเกต และสามารถจดจำได้ดี และนาน
สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้
    ทำให้มีสามารถประดิษฐ์ง่ายๆด้วยตัวเอง การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน สื่อนี้สามารถนำไปใช้ เก็บสะดวก และส่งเสริมด้านภาษา มีทักษะในการคิดสื่ออื่นๆ และนำไปต่อยอดได้ เช่น บัตรคำอาเซียน บัตรคำสีต่างๆ เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่9


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9

ประจำวันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556


กิจกรรมที่เรียนรู้วันนี้ สื่อการสอนทางภาษา อาเซียน

กลุ่มที่ 1 จับคู่ธงชาติ



ประโยชน์ที่ได้เมื่อนำสื่อไปใช้กับเด็ก

  1. เด็กสามารถตีความหมายได้ว่ารูปภาพแต่ละภาพเป็นของประเทศใดในกลุ่มอาเซียน
  2. ช่วยให้เด็กฝึกการสังเกตว่าแต่ละประเทศมีจุดเด่นของธงชาติอย่างไร
  3. เด็กได้เรียนรู้ทางภาษาว่าแต่ละประเทศมีพยัญชนะอะไรบ้าง
  4. ทำให้เด็กได้รู้ว่ากลุ่มประเทศอาเซียนของเรามีประเทศอะไร
  5. เด็กได้เรียนรู้เรื่องสีและรูปทรงต่างๆด้วย

กลุ่มที่ 2 การทำ Pop Up. ทักทายอาเซียน



ประโยชน์ที่ได้เมื่อนำสื่อไปใช้กับเด็ก

  1. เด็กได้เรียนรู้ว่าคำทักทายของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน คือคำว่าอะไร เช่น ประเทศลาว คำทักทายคือ สบายดี เป็นต้น 
  2. เด็กจะเกิดความสนุกในการใช้คำทักทายต่างๆ สามารถนำไปใช้ทักทายเพื่อนๆได้
  3. เด็กได้รู้ว่าถึงความแตกต่างในการใช้ถาษาของแต่ละประเทศแต่สื่อความหมายเดียวกัน
  4. เด็กได้เล่นการทำให้ปากของกบ ขยับไปตามจังหวะทำนองที่เด็กทักทาย

กลุ่มที่ 3 หุ่นนิ้วมืออาเซียน




ประโยชน์ที่ได้เมื่อนำสื่อไปใช้กับเด็ก

  1. เด็กได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมที่แตกต่างของแต่ละประเทศ เช่น การแต่งกายพื้นเมือง การทักทาย
  2. เด็กได้เห็นถึงความแตกต่างของการใช้ภาษาในการสื่อสารและเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละประเทศ
  3. เด็กมีความสุขกับการเล่นหุ่นนิ้วมือและสามารถสวมบทเป็นคนประเทศต่างๆได้
  4. เด็กได้เห็นถึงความสามัคคีในกลุ่มประเทศอาเซียน
  5. เด็กได้เรียนรู้ภาษาหลายๆภาษาในเวลาเดียวกัน และกล้าที่จะทักทายในอาเซียนที่ถึงนี้

กิจกรรมที่ 4 เชิญธงชาติอาเซียน




ประโยชน์ที่ได้เมื่อนำสื่อไปใช้กับเด็ก

  1. เด็กได้เรียนรู้ว่าธงชาติของแต่ละประเทศเป็นอย่างไร
  2. เด็กได้ฝึกกล้ามเนื้อมือในการเชิญธงชาติ
  3. เด็กได้เรียนรู้ถึงเพลงชาติของแต่ละประเทศ ว่ามี จังหวะ เนื้อร้อง ทำนอง ที่แตกต่างกัน
  4. เด็กได้เรียนรู้การดึงเชือกว่าการชักธงขึ้นต้องดึงอย่างไรและชักธงลงต้องดึงเชือกอย่างไร
  5. เด็กมีความสุขในการเล่นกิจกรรมเพราะเด็กอาจคิดว่าตัวเองเป็นตัวแทนของแต่ละประเทศในการเชิญธงชาติ 

สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้
   การใช้ความคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานให้แตกต่างและมีจุดเด่น สื่อนี้ทำให้ได้เรียนรู้อาเซียนมากขึ้น เพราะการที่จะจะไปสอนเด็กนั้นเราต้องรู้และเข้าใจก่อน และการใช้เทคนิคในการสอนซึ่งสื่อนี้ก็มีลูกเล่นที่หลากหลาย สามารถใช้เป็นแนวทางในการศึกษาในชั้นต่อไปได้